Skip to content

ซ่อมปั้มลมสกรู Jaguar EAS30 30hp

อาการเสีย overhaul ตามอายุการใช้งาน เสียงดังผิดปกติ ความร้อนสูง น้ำมันหายต้องคอยเติม

Jaguar screw air compressor

ปั้มลมสกรู จากัวร์ EAS30 VSD ขนาด 30 แรงม้า ระบบอินเวอร์เตอร์ ผลิตโรงงานจีน ขับด้วยสายพาน ใช้ในโรงงานที่มีฝุ่นหนามาก ไม่อาจป้องกันฝุ่นได้ ปั๊มลมดูดเอาฝุ่นผงเข้าตัวเครื่อง และเล็ดลอดเข้าระบบภายใน

ปั๊มลมสกรู จากัวร์

ตรจสอบภายในเครื่อง มีน้ำมันเยิ้มเปื้อนเลอะเทอะ ทั้งแผงระบายความร้อน มอเตอร์ หัวสกรู ฯลฯ แสดงว่ากรองแยกลม-น้ำมัน หรือ air-oil separator ไม่ดีแล้ว ปั๊มลมจึงพ่นละอองน้ำมันออกมาตอนโบลว์ออฟ ทำให้ภายในเครื่องมีคราบน้ำมันมาก

เครื่องสกปรก

สภาพแวดล้อมในโรงงาน มีฝุ่นผงมาก เนื่องจากการผลิต เครื่งจักรกลทุกเครื่อง จึงถูกฝุ่นผงในโรงงาน ปกคลุม และดูเข้าในเครื่อง จับตัวกับคราบน้ำมัน เป็นคราบแข็ง ทั่วทั้งภายในเครื่อง

ถ่ายน้ำมัน

ก่อนทำการซ่อม ถ่ายน้ำมันออก พบว่าน้ำมันข้น ไหลช้า มีจับตัวเป็นก้อน ปนออกมาด้วย แสดงว่าน้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพแล้ว อันเกิดจากอายุการใช้งาน หรืออุณหภูมิสูงเกิน หรือมีสิ่งปลอมปนเยอะ ฯลฯ

เริ่มถอดชิ้นส่วนต่างๆ

การโอเวอร์ฮอลเครื่อง ต้องถอดทุกชิ้นส่วน เช่น สายพาน หัววาวล์ควบคุมลม หัวสกรู ท่อน้ำมัน ฯลฯ เพื่อล้างทำความสะอาด ทั้งภายนอก-ภายใน รวมถึงระบบทางเดินน้ำมัน เช่น ภายในท่อ และแผงระบายความร้อน ฯลฯ

เปิดถังเซ็ฟ

เปิดถังแยกลม-น้ำมัน หรือ air-oil separator tank หรือภาษาช่างเรียกว่าถังเซ็ฟ เอาไส้กรองออก ถังเซ็ฟเปรียบเสมือนปอด ที่ทำหน้าที่ฟอกเลือด น้ำมันที่ปนมากับลม จะถูกแยกออกและเก็บในถังนี้ ก่อนถูกดูดเวียนไปใช้งานอีก น้ำมันดี-ไม่ดี ดูได้จากถังเซ็ฟนี้แหละ

สภาพภายในถัง

ถังแยกลม-น้ำมัน มีสภาพสกปรก มีคราบยางเหนียวเหมือนยางมะตอยเกาะ โดยรอบ ดังนั้น ภายในท่อน้ำมัน และแผงระบายความร้อน ต้องสกปรกเหมือนกัน หากปล่อยไว้นานกว่านี้ ยางเหนียวจะยิ่งแข็ง และเกาะติด อุดตัน ภายในท่อทั้งหมด เสมือนเส้นเลือดอุดตันทีเดียว

น้ำมันกลายสภาพ

น้ำมันจับตัวเป็นก้อน เหมือนจารบี มักเกิดจากน้ำมันเสื่อมสภาพ ไม่ถ่ายออกตามอายุ หรือคอยเติมเพิ่ม ไม่ถ่ายของเก่าออก เมื่อน้ำมันแข็งตัว การหล่อลื่นและการระบายความร้อน ย่อมไม่ดี อุณหภูมิสูงยิ่งทำให้น้ำมันเครื่องเสื่อมเร็วยิ่งขึ้น

ถอดชิ้นส่วนหัวสกรู

ถอดชิ้นส่วนหัวสกรู หรือ airend เพื่อตรวจสภาพ ความสึกหรอต่างๆ ทำความสะอาดคราบทุกชนิด และเปลี่ยนชุดลูกปืนใหม่

ถอดโรเตอร์หัวสกรู

สภาพโรเตอร์ทั้งสอง และหน้าฝาสกรูยังดี ไม่มีรอยเสียดสี มีเพียงคราบยางเหนียวเกาะแน่น

สภาพภายในหัวสกรู

ทุกชิ้นส่วน ซอกมุม รูต่างๆ มีคราบยางเหนียวเกาะโดยทั่ว ต้องล้างทำความสะอาด ควักคราบในรู ทางเดินน้ำมัน ทุกรู ห้ามตกหล่น

ล้างเครื่อง

เมื่อถอดเครื่องจนโล่งแล้ว จึงฉีดน้ำล้างโครงเครื่ง ใช้น้ำยาทำละลายน้ำมันชะโลม ให้คราบนั้นอ่อนตัว แล้วฉีดล้างออก ขั้นตอนการล้างมีความสำคัญมาก หากผู้ล้างไม่มีทักษะ จะทำให้เกิดความเสียหายเพิ่มเติมได้

ถอดชิ้นส่วนมอเตอร์

ถอดชิ้นส่วนมอเตอร์ ถอดพัดลมระบายความร้อน ถอดฝาครอบ เพื่อตรวจเบ้าลูกปืน และล้างทำความสะอาด

ถอดชิ้นส่วนมอเตอร์

เมื่อเปิดฝามอเตอร์ ตรวจสภาพ โรเตอร์ สเตเตอร์ ขดลวด ทำความสะอาด อาวานิชขดลวด และเปลี่ยนชุดลูกปืน

ทำความสะอาดเครื่อง

บางจุดฉีดน้ำล้างไม่ได้ เช่น ใบพัดระบายความร้อน แผงวงจร ชุดอุปกรณ์คอนโทรล ฯลฯ ต้องใช้วิธีเซ็ดล้าง หรือล้างหมาด ด้วยน้ำยาขยัดคราบเหนียว

ทดสอบเครื่อง

เมื่อประกอบเครื่องเสร็จแล้ว จึงทดสอบฟังค์ชั่นต่างๆ เช่น กระแสไฟตอนสตาร์ท ตอนทำลมสูงสุด (full load) ตอนพักทำลม (unload) ฟังเสียง ดูอุณหภูมิ จับท่อน้ำมันว่าร้อนขาเข้า เย็นขาออก อัดลมเข้าถังจับเวลาทำลม ฯลฯ

ขอบพระคุณท่านที่เข้าเยี่ยมชม สินค้าและบริการของเรา เราได้รวบรวมผลงานบางส่วน มาแสดงที่นี่ เนื่องจากงานส่วนใหญ่ไม่ได้บันทึกภาพไว้ ทั้งที่ตั้งใจ อยากให้เห็นถึงสาเหตุของการชำรุดเสียหาย และวิธีการแก้ไข ของแต่ละกรณี แต่เนื่องจากระหว่างที่ช่างทำงาน ก็ไม่ได้เก็บรูปถ่ายอย่างละเอียดทุกขั้นตอน การแสดงรูปประกอบคำอธิบาย เราจึงตัดตอนข้อมูลและนำมาแสดงเพียงบางส่วนเท่านั้นครับ

“เขาสร้างได้ เราต้องซ่อมได้” “ทำให้เขาดีๆ ให้เขาใช้ทนๆ เงินก็สำคัญ ชื่อเราก็สำคัญ”

ติดต่อ คุณถวัลย์ 081-3992679