ซ่อมปั๊มลม ลูกสูบพูม่า 5 แรง (puma piston air compressor)
อาการเสีย ปั๊มลมลูกสูบแบบตู้เก็บเสียง เสียงดังผิดปกติ ทำลมช้า ทำลมไม่พอใช้ ปั๊มเดินตลอดไม่ตัดการทำงาน
รับซ่อมปั๊มลมลูกสูบ 5 แรง (piston air compressor)
ลูกค้านำมาส่งซ่อม โดยได้ถอดฝาครอบตู้เครื่องออกหมด เพื่อง่ายต่อการขนย้าย แต่ปกติควรนำมาในสถาพสมบูรณ์ เพื่อทดสอบก่อนการซ่อม
แผงคอนโทรล ปั๊มลมลูกสูบ
สภาพเครื่องถูกถอดฝาโครงออกหมด แต่แผงคอนโทรล มีสายไฟต่ออยู่ จึงไม่ได้ถูกถอดออก
ตรวจสภาพด้วยสายตา
ปั้มลมลูกสูบ จะไม่ซับซ้อน มีส่วนประกอบไม่มาก ตรรวจสอบด้วยสายตา visual check อะไหล่ยังอยู่ครบ สภาพน้ำมันเกาะเต็มพื้นเครื่อง แสดงว่า แหวนสูบหลวมมานาน จึงมีละอองน้ำมันออกมาสะสมในห้องเครื่อง
ฝาตู้ปั๊มลม
ฝาตู้ถูกถอดแยกมา ปัญหาของการถอดมาคือ น็อตสกรูมักตกหล่นมาไม่ครบ
หัวสูบแบบฟูเช็ง (Fusheng style pump head)
หัวสูบเป็นแบบ ปั๊มลมฟูเช็ง สามารถใช้อะไหล่ฟูเซ็งได้ ลูกค้าตกลงให้เปลี่ยน แหวนสูบ ชาร์ปก้าน ชาร์ปข้อเหวี่ยง ลูกปืนข้อเหวี่ยง
ถ่ายน้ำมันเครื่อง
สภาพน้ำมันเครื่อง ดำข้น แสดงว่าใช้งานมานาน ไม่ได้ถ่ายน้ำมัน และเปลี่ยนกรองอากาศตามระยะ ทำให้น้ำมันดำมาก
ทำความสะอาดเบื้องต้น (pre-clean)
ก่อนการซ่อมต้องทำความสะอาดเบื้องต้น หรือ pre-clean ก่อน มิฉะนั้น จะจับจะถอดอะไรก็จะดำไปหมด เหมือนคนไข้ตกคลองน้ำเสียมา ก่อนเข้าห้องผ่าตัด ก็ต้องล้างตัวเสียก่อน
ล้างฝาตู้ปั๊มลม
การล้าง จะล้างทุกชิ้นส่วนไปพร้อมกัน จุดที่มีซอกมุมมาก ก็ใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง ส่วนที่เรียบๆก็ใช้ฟองน้ำขัด การฉีดน้ำแรงๆ อาจทำลายผิว หรือสีเดิมก็ได้ ผู้ล้างเครื่องต้องใส่ใจระวัง
หลังล้างเครื่อง
เมื่อล้างเครื่องเสร็จ ตรวจความสะอาด อาจต้องล้างซ้ำในบางจุด หรือถอดชิ้นส่วนออก เพื่อล้างได้ง่ายขึ้น ต้องระวังส่วนประกอบที่อาจเสียหายจากน้ำ เช่น มอเตอร์และแผงไฟฟ้า ฯลฯ
ถอดเสื้อสูบ ลูกสูบ
การถอดชิ้นส่วนหัวสูบ เช่น ฝาสูบ วาวล์ดูด-อัด เสื้อสูบ ลูกสูบ ก้านสูบ ข้อเหวี่ยง ฯลฯ ควรถอดบนแท่นเลย หากยกหัวสูบออกมาก จะทำงานยากกว่า ข้อนี้แล้วแต่เทคนิคของช่างแต่ละคน
แหวนสูบ (piston ring)
การถอดแหวนสูบอาจจะยาก และต้องระวัง สำหรับช่างมือใหม่ แหวนสูบมีความแข็งและคม งัดไม่ดี อาจหัก หรือบาดมือได้
อะไหล่ปั๊มลม
ล้างอะไหล่ทุกชิ้น ซอกรูทุกจุด ห้ามตกหล่น บางงานก็ส่งโรงกลึง เช่น คว้านเสื้อสูบ เจียร์ข้อเหวี่ยง อัดบรูซก้าน ฯลฯ
วาวล์ดูด-อัดลม (suction-discharge valve)
วาวล์ดูด-อัดลม ของฟูเช็ง ออกแบบมาเป็นก้อน เปลี่ยนทั้งก้อน หรือเปลี่ยนเฉพาะชุดซ่อมก็ได้ เราแนะนำให้เปลี่ยนทั้งชุดมากกว่า ราคาไม่ต่างกัน แต่ได้ประสิทธิภาพการดูด-อัด ที่ดีกว่า
ประกอบข้อเหวี่ยง
เริ่มประกอบหัวสูบ เริ่มจากก้านสูบก่อน
ประกอบก้านสูบ
การประกอบก้านสูบ มีสิ่งที่ต้องระวัง คือก้านวิดน้ำมัน ทั้ง 3 ก้าน จะมีลักษณะต่างกัน หากใส่สลับ หรือใส่กลับด้าน การวิดน้ำมันจะไม่ดี การหล่อลื่นไม่ดี จะทำให้ชาร์ปละลายได้
มอเตอร์ปั๊มลม
เคสนี้ลูกค้าไม่เปลี่ยนลูกปืน เราก็ทดสอบป้อนไฟ ฟังเสียงลูกปืน วัดกระแส วัดความร้อน เตรียมประกอบ เครื่อง
ประกอบ ทดสอบเบื้องต้น
เมื่อประกอบหัวเสร็จ สามารถทดสอบเบื้องต้นได้ โดยใช้มือหมุนใบพัดหัวปั๊ม ดูความฝืด การสะดุด ฟังเสียงการดูดลม ฯลฯ เมื่อมั่นใจแล้ว จึงประกอบส่วนอื่นๆต่อไป
ปั๊มลมตู้เก็บเสียง
ตัวอย่างปั๊มลมลูกสูบในตู้เก็บเสียง หามาให้ดู เนื่องจากเราไม่ได้เก็บภาพโดยละเอียด ปั๊มแบบนี้มีใช้น้อย เนื่องจากราคาสูงกว่าแบบเปลือย ข้อดีคือเก็บเสียง แต่ข้อเสียคือ ผู้ใช้มักละเลยการดูแลรักษ
ขอบพระคุณท่านที่เข้าเยี่ยมชม สินค้าและบริการของเรา เราได้รวบรวมผลงานบางส่วน มาแสดงที่นี่ เนื่องจากงานส่วนใหญ่ไม่ได้บันทึกภาพไว้ ทั้งที่ตั้งใจ อยากให้เห็นถึงสาเหตุของการชำรุดเสียหาย และวิธีการแก้ไข ของแต่ละกรณี แต่เนื่องจากระหว่างที่ช่างทำงาน ก็ไม่ได้เก็บรูปถ่ายอย่างละเอียดทุกขั้นตอน การแสดงรูปประกอบคำอธิบาย เราจึงตัดตอนข้อมูลและนำมาแสดงเพียงบางส่วนเท่านั้นครับ
“เขาสร้างได้ เราต้องซ่อมได้” “ทำให้เขาดีๆ ให้เขาใช้ทนๆ เงินก็สำคัญ ชื่อเราก็สำคัญ”
ติดต่อ คุณถวัลย์ 081-3992679